คนไทยคุ้นกับคำ ดีไซด์เนอร์ (Designer) มานานแล้ว โดยเข้าใจไปถึงนักดีไซด์ทรงผม นักดีไซด์เสื้อผ้า และเรียกนักดีไซด์ออกแบบเหล่านี้ว่าเป็น ดีไซด์เนอร์ แต่คำว่า Designer ในความหมายของ ปีเตอร์ เซงกี้ เจ้าของทฤษฎีการบริหารจัดการเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning Organization) นิยามคำว่า Designer คือ ผู้มีความสามารถออกแบบงานได้ และความหมายของความเป็นผู้ออกแบบงานได้ ยังมีความละเอียดลึกซึ้งกว่าการออกแบบธรรมดา ยกตัวอย่าง นักออกแบบงานชาวญี่ปุ่น ซึ่งสมัครมาเป็นอาสาสมัครอาวุโสทำงานร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท่านชื่อ NORIAKI MANABE ท่านมีวิธีออกแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ลองอ่านรายละเอียดดูซึ่งคัดลอกมาจาก Website http://padupacamp.blogspot.com ความดังนี้
“เป็นเวลาหนึ่งปีที่เฝ้ามองรูปแบบการเรียนรู้ของอาสาสมัครอาวุโสชาวญี่ปุ่น ที่มาช่วยงาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว เพื่ออนุมานไปถึงวิถีความก้าวหน้าการพัฒนาประเทศของเขา พบรูปแบบการเรียนรู้จากการกระทำของเขาสักหนึ่งเรื่อง อาสาสมัครเขาพบว่าศูนย์วิทยาศาสตร์อยู่ในบริบทแวดล้อมที่มีอุทยานแห่งชาติ อันเป็นมรดกโลก คือ อุทยานแห่งชาติปางสีดา และเป็นแหล่งที่มีผีเสื้อชุกชุมน่าศึกษา อาสาสมัครได้ขอบัตรประจำตัวเพื่อแสดงว่าเป็นบุคลากรของศูนย์วิทยาศาสตร์ สำหรับผ่านเข้าเขตอุทยานแห่งชาติในการศึกษาเรียนรู้ และเดินทางไปศึกษาผีเสื้อ ถ่ายภาพผีเสื้อเกือบทุกวันหยุดที่ว่าง เมื่อถ่ายภาพมาได้แล้ว นำภาพมาให้ดูและถามถึงผู้รู้ในเรื่องผีเสื้อ เพื่อยืนยันชนิดของผีเสื้อ จากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ จากภูมิปัญญาที่เขียนคู่มือผีเสื้อ เดินทางไปหอสมุดแห่งชาติเพื่อตามค้นหนังสือคู่มือผีเสื้อของประเทศไทย ที่มีความเที่ยงตรงและยืนยันได้ซึ่งหนังสือไม่มีขายในท้องตลาด จากนั้นนำภาพผีเสื้อจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชนได้ชม เมื่อมาเรียนรู้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ความตั้งใจ ความเข้าใจในบริบทแวดล้อม การประมวลข้อมูลชัดเจน การลงมือปฏิบัติจริง การยืนยันความถูกต้องจากสิ่งที่ปฏิบัติมา การเผยแพร่ความรู้ เป็นการเรียนรู้สไตล์ญี่ปุ่นสไตล์หนึ่ง”
สรุปว่า การออกแบบงานต้องคำนึงถึง นโยบาย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ความต้องการ บริบทแวดล้อมของชุมชน เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบงานจึงถือว่าเป็น Designer ที่ดีได้
No comments:
Post a Comment